คลังข้อสอบออนไลน์

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
แบบทดสอบวิชา สค22019 การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2
1)  เพราะเหตุใดประเทศญี่ปุ่นจึงเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง
  พื้นที่ตั้งเป็นลักษณะหมู่เกาะ
  พื้นที่ตั้งเป็นลักษณะเทือกเขาสูง
  พื้นที่ตั้งอยู่ตามแนวร่องลึกก้นมหาสมุทร
  พื้นที่ตั้งอยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ
   
2)  ข้อใดเป็นวิธีการดูแลตนเองขณะเกิดหมอกควัน
  ติดระบบกรองอากาศในบ้าน
  รองน้ำฝนไว้ใช้อุปโภคเมื่อฝนตกทันที
  ควรใช้หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกป้องกันฝุ่นควัน
  ปลูกพืชคลุมหน้าดินไว้เพื่อลดโอกาสที่ฝุ่นละอองฟุ้ง ในอากาศ
   
3)  การเกิดสึนามิ สังเกตได้จากข้อใด
  การเกิดคลื่นขนาดใหญ่ก่อตัวเป็นกำแพงในทะเล
  การเกิดลมพายุหมุนในทะเลอย่างรุนแรงและนาน
  สัตว์ทะเลลอยหงายตายตามชายฝั่งจำนวนมาก
  ท้องฟ้าแปรปรวนและเกิดฝนตกหนักในมหาสมุทร
   
4)  ขณะเกิดวาตภัย ควรปฏิบัติตนอย่างไรเป็นอันดับแรก
  ไม่ควรออกนอกอาคาร
  ไม่ควรอยู่ในที่ลุ่มหรือริมทะเล
  ไม่ควรอยู่ใต้ต้นไม้ที่โดดเดี่ยวโล่งแจ้ง
  ไม่ควรตื่นตระหนก พยายามคุมสติให้มั่น
   
5)  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงภัยในการเกิดเคลื่อนสึนามิ
  บริเวณพื้นที่ที่มีภูเขามาก
  บริเวณพื้นที่ที่ขุดบ่อน้ำมัน
  บริเวณเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟ
  บริเวณเกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
   
6)  ในช่วงเดือนมีนาคม การเพาะปลูกในภาคใดของประเทศไทย มีความเสี่ยงในการให้ผลผลิตต่ำสุด
  ภาคใต้
  ภาคเหนือ
  ภาคตะวันออก
  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
   
7)  ข้อใดกล่าวถึงผลกระทบที่เกิดจากไฟป่าได้ถูกต้อง
  โครงสร้างของป่าเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นทุ่งหญ้า
  ทำให้เกิดไฟใต้ดิน และไปทำลายรากต้นไม้ใหญ่น้อยให้ตาย
  การเกิดไฟไหม้ลุกลามจากยอดต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังยอดต้นไม้อีกต้นหนึ่ง
  เมื่อเกิดไฟป่าแล้ว จะทำให้พื้นป่าโล่งสะดวกต่อการเข้าเก็บของป่า
   
8)  ข้อใดคือสาเหตุของการเกิดภัยแล้งที่เกิดจากการ กระทำของมนุษย์
  การทำลายชั้นโอโซน
  การเปลี่ยนแปลงอุณภูมิโลก
  การแปรผันของรังสีดวงอาทิตย์
  การขยายตัวของมวลน้ำทะเล จากที่อุณหภูมิสูงขึ้น
   
9)  การอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาหมอกควันเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่มีการป้องกันที่ดี จะทำให้มีความเสี่ยง
  หอบหืด
  ท้องร่วง
  ไตอักเสบ
  กระเพาะอาหาร
   
10)  ลักษณะภูมิประเทศข้อใดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย
  พื้นที่ถัดจากเชิงเขา
  พื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล
  พื้นที่ราบต่ำมีน้ำท่วมขัง
  พื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ